Author Guidelines
1. การส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์
บทความวิชาการ มีความยาวไม่ควรเกิน 12 หน้ากระดาษ A4 ควรประกอบด้วย ชื่อเรื่องภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนภาษาไทย และภาษาอังกฤษ พร้อมสถานที่ทำงาน บทคัดย่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เนื้อเรื่อง และเอกสารอ้างอิง โดยเนื้อเรื่องเป็นบทความที่รวบรวมหรือเรียบเรียงจากหนังสือ เอกสาร ประสบการณ์เหรือเรื่องแปล เพื่อเผยแพร่ความรู้ในสาขาต่างๆ หรือแสดงข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มีคุณค่าทางวิชาการ
บทความวิจัย มีความยาวไม่ควรเกิน 12 หน้ากระดาษ A4 ควรประกอบด้วย ชื่อเรื่องภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนภาษาไทย และภาษาอังกฤษ พร้อมสถานที่ทำงาน บทคัดย่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เนื้อเรื่อง กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก (ถ้ามี) เนื้่อเรื่องประกอบด้วย
• บทนำ (Introduction) บอกความเป็นมา หรือ ที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย
• วิจารณ์วรรณกรรม หรือ ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Literature Review)
• วิธีการใหม่ที่นำเสนอ/ขั้นตอนวิธีการดำเนินการวิจัย (Methodology)
• ผลการดำเนินการวิจัย (Results)
• สรุป (Conclusion)
2. คำแนะนำในการเขียนและพิมพ์
2.1 คำแนะนำทั่วไป
บทความต้องมีความยาวไม่เกิน 12 หน้ากระดาษ A4 พิมพ์ด้วย Microsoft Word for Windows การตั้งค่าหน้ากระดาษ ขอบด้านบนและด้านล่าง 3 ซม. ด้านซ้ายและ ด้านขวา 2.5 ซม. พิมพ์ 2 คอลัมน์ กว้าง 7.5 ซม. ระยะห่าง 1 ซม. การลำดับหัวข้อของเนื้อเรื่อง ให้ใช้เลขกำกับ บทนำเป็นหัวข้อหมายเลข 1 และหากมี หัวข้อย่อยให้ใช้เลขระบบทศนิยมกำกับหัวข้อย่อย เช่น 2.1 เป็นต้น เฉพาะผู้รับผิดชอบบทความ (Corresponding Author) ให้ระบุที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และ E-mail ที่สามารถติดต่อได้ และสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดได้ที่ www.stj.sci.rmutk.ac.th
2.2 แบบและขนาดตัวอักษร
ใช้ตัวอักษรแบบ “TH SarabunPSK” ชื่อบทความใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวหนา ชื่อผู้เขียน บทคัดย่อและเนื้อความต่างๆ ใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวปกติ ชื่อหัวข้อและหัวข้อย่อยใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวหนา
2.3 การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง
การอ้างอิงในบทความ ใช้การอ้างอิงแบบตัวเลข เช่น การประเมินประสิทธิภาพของระบบและการประเมินความพึงพอใจใช้สถิติ [14] เอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกฉบับ จะต้องมีการอ้างอิงในบทความ มีการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลัก วิชาการ เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ตามรูปแบบของ IEEE รายละเอียดของเอกสารอ้างอิง ประกอบด้วย ชื่อผู้เขียน ชื่อ หนังสือหรือชื่อของบทความ ชื่อของเอกสารที่พิมพ์ สำนัก หรือสถานที่พิมพ์ ปีที่ (ฉบับที่) พิมพ์และเลขหน้าที่อ้างอิง ทั้งนี้การเขียนให้เป็นไปตามรูปแบบของชนิดเอกสารที่อ้างอิง
ตัวอย่างการอ้างอิงหนังสือ
- สมชาย ประสิทธิ์จูตระกูล, การออกแบบและวิเคราะห์อัลกอริทึม, กรุงเทพฯ: เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC),
- R. Quinlan, C4.5: Programs for Machine Learning, Morgan Kaufmann Publishers, San Meto, California, 1993.
ตัวอย่างการอ้างอิงจากการประชุมวิชาการ
- นิอัฟฟาน บินนิโซะ, นูรอิน สะมะแอ, กฤษณ์วรา รัตนโอภาส และสารภี จุลแก้ว, “ระบบเครือข่ายภายในเสมือน 10 Gigabit Ethernet บนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะด้วยเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่น,” ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 8: 2559, น. 726-735.
- S. Müller, D. Bermbach, S. Tai, and F. Pallas, “Benchmarking the Performance Impact of Transport Layer Security in Cloud Database Systems,” in Cloud Engineering (IC2E) 2014 IEEE International Conference, Boston, Massachusetts, 2014, pp. 27-36.
ตัวอย่างการอ้างอิงจากวารสาร
- นิตยา เงินประเสริฐศรี, “องค์การแนวนอน,” วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ปีที่27, ฉบับที่ 15, หน้า 37-42, มกราคม–มิถุนายน,
ตัวอย่างการอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์
- ปรินทร เต็มญารศิลป์, “การเตรียมและการวิเคราะห์คุณลักษณะเฉพาะของถ่านกัมมันต์จากไผ่ตงและไผ่หมาจู๋,” วิทยานิพนธ์ วท.บ. (เคมี), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ,
- O.Williams, “Narrow-band analyzer,” Ph.D. dissertation (Electrical Engineering), Harvard University, Cambridge, MA, USA, 1993.
ตัวอย่างการอ้างอิงจากเว็บไซต์
- William Stallings. (2003 Mar). “The Session Initiation Protocol - The Internet Protocol” [Online]. Available: http://www.cisco .com/c/en/us/about/press/internet-protocol-journal/back-issues /table-contents-23/sip.html. [Accessed: Feb. 27, 2017].
- บรรณากิจบรรจง ทองจาปา, “ประเภทของความสูญเปล่า,” [Online]. Available: http://onzonde.mulitiply.com/journal/item/ [Accessed: 7 พฤศจิกายน 2551].
3. เกณฑ์การพิจารณาบทความ
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณค่าทางวิชาการ ความสมบูรณ์ของเนื้อหาและโครงสร้าง ภาษาที่ใช้ ความชัดเจน ของสมมติฐาน/วัตถุประสงค์ ความชัดเจนของการนำาเสนอ และการจัดระเบียบบทความ ความถูกต้องทางวิชาการ การอภิปรายผล และการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
บทความจะต้องได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในสาขาวิชานั้นอย่างน้อย 3 คน ซึ่งกองบรรณาธิการอาจ ให้ผู้เขียนปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและทรงไว้ซึ่งสิทธิ ในการตัดสินลงพิมพ์หรือไม่ก็ได้ และต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อนหรือไม่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาเพื่อเผยแพร่ในวารสารอื่นๆ
4. การส่งบทความ
ส่งไฟล์บทความ .doc และ .pdf (ตารางและรูปให้บันทึกในรูปแบบของ .jpg แนบเพิ่มมาพร้อมกับไฟล์บทความ) ที่ www.stj.sci.rmutk.ac.th